Lighting Design

Introduction to lighting Design

การออกแบบแสงเบื้องต้น

Duration : 12 hrs.

การออกแบบแสงเป็นศาสตร์ที่รวมความเข้าใจในทั้งศิลปศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ความเข้าใจในเรื่องของพื้นที่ แสง และกาลเวลา แสงถูกแบ่งออกเป็นสองประเภทตามแหล่งกำเนิด ได้แก่ แสงธรรมชาติ (แสงจากดวงอาทิตย์) และแสงประดิษฐ์(แสงเทียน แสงจากโคมไฟ) งานออกแบบแสงสว่าง(Lighting Design)ในงานสถาปัตยกรรมนั้น จะต้องมีการคำนึงถึงคุณสมบัติ และลักษณะของแสงแต่ละประเภท การวิเคราะห์ และออกแบบให้เหมาะสมกับพื้นที่ ตรงวัตถุประสงค์การใช้งาน สร้างความสบายตาให้กับผู้ใช้ ประหยัดพลังงาน รวมไปตอบสนองความสวยงามและการสร้างคุณค่าให้กับงานสถาปัตยกรรม

เมื่อจบเนื้อหาแล้ว ผู้เรียนจะสามารถออกแบบแสงที่ตอบโจทย์ได้ทั้งความสวยงามและฟังก์ชั่นการใช้งาน เข้าใจและเชี่ยวชาญทั้งทฤษฎี การพัฒนาภาคปฏิบัติรวมถึงโปรแกรมในการออกแบบแสง

เนื้อหาเบื้องต้นจะเป็นการทำความรู้จักกับงานออกแบบแสง(Introduction to Lighting Design) เช่น ประเภทของแสง หน้าที่ของแสง ไม่ว่าจะเป็น Light as Spiritual, Light as Function, Light as Language เทคนิคการใช้แสดง(Lighting Technique) แนวความคิดการออกแบบแสงเบื้องต้น(Lighting Concept and Design Process) การบรรยายจะรวมถึงการยกตัวอย่างงานออกแบบแสงที่นักเรียนพอคุ้นเคยรู้จัก และงานที่น่าสนใจประกอบกับการบรรยาย เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจได้ง่าย รวมถึงเกิดแรงบันดาลใจในการออกแบบแสง อธิบายถึงดวงโดมและอุปกรณ์ประกอบด้วยโคมต่างๆที่มีในงานออกแบบแสง(Lamp and Light fixtures) และวิธีการใช้เพื่อให้ได้รูปแบบแสงที่ต้องการ

Lighting Concept Design and Studio

แนวความคิดในการออกแบบแสงสว่าง

Duration : 12 hrs.

วิชาว่าด้วยแนวความคิดในการออกแบบแสงภายในพื้นที่ เนื้อหาเริ่มต้นด้วยการอธิบายรูปแบบและองค์ประกอบของแสงที่มีในงานออกแบบ อันได้แก่ แสงธรรมชาติ และแสงประดิษฐ์ แสงและสิ่งที่ส่งผลต่อความรู้สึก ผู้สอนยกตัวอย่างเทคนิคการใช้แสงในงานออกแบบที่น่าสนใจ เทคนิคการใช้แสง สี พื้นผิว เงา วัสดุ ที่ส่งผลต่อบรรยากาศภายในพื้นที่ ยกตัวอย่างเทคนิคที่ สีเงาเดี่ยว(Single-colour shadow) สีเงาผสม(Multi-colour shadow) ที่ใช้ในนักออกแบบแสงชื่อดัง ไม่ว่าจะเป็น James Turrell, Olafur Eliasson เป็นต้น

หลังจากนั้นเป็นโจทย์ให้ออกแบบภายในชั้นเรียน เช่นโจทย์ “พื้นที่ที่แสดงออกถึงความเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด” โดยให้ผู้เรียนได้สร้างสรรค์จินตนาการออกแบบแสงภายในพื้นที่จากเนื้อหาที่ได้เรียนมาควบคู่ไปกับคำแนะนำจากอาจารย์ เช่น ในเรื่องของการแนะนำชนิดและการใช้ไฟให้ตรงกับโจทย์และความต้องการที่ผู้เรียนได้ออกแบบมา เป็นการเรียนรู้เนื้อหาพร้อมๆกับการลงมือทำจริงควบคู่กันไป วิธีการออกแบบในภาคปฏิบัติไล่ลำดับเป็น Sketch Design, Design Development จนได้ทำแบบจำลองงานออกแบบจริง(Lighting Model) เพื่อทดสอบแสงร่วมกันกับผู้สอน

Lighting For Interior

การออกแบบแสงสำหรับพื้นที่ภายใน

Duration : 18 hrs.

เริ่มต้นเข้าสู่การออกแบบแสงเพื่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น โดยจากทฤษฐี สามารถกล่าวอย่างคร่าวๆได้ว่า วัตถุประสงค์ของการออกแบบแสงไฟหลักๆแล้วคือเพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้งานและเพื่อผลกระทบทางความรู้และจิตวิทยาหรือเรียกสั้นๆว่าทำให้เกิดมู้ดและความรู้สึก เนื้อหาในส่วนนี้จึงจะเริ่มต้นด้วยการอธิบายเทคนิควิธีการออกแบบแสงไฟภายใน ไปสู่การวิเคราะห์พื้นที่เพื่อการออกแบบแสงไฟ วิเคราะห์กิจกรรมและการใช้งาน เข้าสู่แนวความคิดในการออกแบบ เข้าสู่กระบวนการออกแบบแสงภายในอาคาร รวมถึงข้อควรระวังในการออกแบบแสงไฟภายใต้คำแนะนำอย่างใกล้ชิดของผู้สอน ควบคู่ไปกับการอธิบายการเลือกหลอดไฟสำหรับพื้นที่ต่างๆภายใน ประเภทของหลอดไฟและดวงโคมที่ใช้ในการออกแบบแสงสำหรับพื้นที่ภายใน ปริมาณความส่องสว่างและโคมที่เลือกใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ปลอดภัย ประหยัด รวมไปถึงเทคนิควิธีการออกแบบที่ทำให้พื้นที่ภายในมีความสว่างสม่ำเสมอ หลักเลี่ยงแสงแยงตา การประยุกต์การนำแสงธรรมชาติเข้ามาใช้ให้การออกแบบพื้นที่ภายในสวยงาม ตรงตามความต้องการและประโยชน์ใช้สอย

เมื่อจบเนื้อหา นักเรียนสามารถใช้ความรู้ภาคทฎษฎีที่ได้เรียนมา นำมาออกแบบเป็นผลงานออกแบบที่สร้างสรรค์ สวยงาม ตรงตามมาตรฐานการใช้งานได้ พื้นที่ภายในที่จะได้เรียน

หัวข้อพื้นที่งานออกแบบที่จะได้เรียนรู้การออกแบบแสงไฟเบื้องต้น ได้แก่ Residencial Space, Restaurants and Bar, Retails, Hospitality, Gallery and Museum

 

Lighting For Exterior

การออกแบบแสงสำหรับพื้นที่ภายนอก

Duration : 12 hrs.

นอกจากงานออกแบบแสงภายในแล้วอีกหนึ่งหัวข้อที่สำคัญคือการออกแบบแสงสว่างวำหรับพื้นที่ภายนอก วัตถุประสงค์ของการออกแบบแสงไฟภายนอกนั้นมักคำนึงถึงความปลอดภัยเข้าร่วมด้วย อาศัยการออกแบบวางผังไฟที่มีความสว่างสม่ำเสมอ พอดีและปลอดภัยกับการใช้งาน สร้างสมดุลของการออกแบบไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของค่าระหว่าง Brightness และ Contrast ของความสว่าง เพื่อเน้นวัตถุที่ต้องการให้แสงสว่าง พื้นหลัง และบริบทโดยรอบ พร้อมกันนี้การออกแบบแสงสว่างสำหรับพื้นที่ภายนอกยังควรคำนึงถึงการประหยัดพลังงานและงานบำรุงรักษาที่จะยากและซับซ้อนกว่าการออกแบบพื้นที่ภายใน ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ถึงรายละเอียดของพื้นที่ ผู้ใช้ รวมถึงเข้าใจถึงบริบทการออกแบบภายนอก เนื้อหาภาคปฎิบัติจะเริ่มต้นด้วยการทดลองออกแบบแสงภายนอก วิเคราะห์พื้นที่เพื่อการออกแบบแสงไฟ วิเคราะห์ผู้ใช้งาน วิเคราะห์กิจกรรมและการใช้งาน เข้าสู่แนวความคิดในการออกแบบ และเข้าสู่กระบวนการออกแบบแสงภายนอกอาคารในลำดับถัดไป

เมื่อจบเนื้อหา นักเรียนสามารถใช้ความรู้ภาคทฎษฎีที่ได้เรียนมา นำมาออกแบบเป็นผลงานออกแบบที่สร้างสรรค์ สวยงาม ตรงตามมาตรฐานการใช้งานได้ พื้นที่ภายในที่จะได้เรียน

หัวข้องานออกแบบที่จะได้ลงมือออกแบบ การออกแบบสำหรับสวนและภูมิทัศน์(Landscpe) รวมไปถึงพื้นที่อย่างเช่น ที่จอดรถ สระน้ำ, การออกแบบแสงไฟประกอบ Facade ข้างนอกอาคาร ไปจนถึงไฟสาธารณะ(Urban Lighting)

DIALux Program For Lighting Design

โปรแกรมสำหรับออกแบบแสงไฟ

Duration : 18 hrs.

เนื้อหาในส่วนของโปรแกรมเป็นอีกเนื้อหาสำคัญในการออกแบบแสงไฟ โดยโปรแกรมที่เป็นที่นิยมและใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันได้แก่ โปรแกรม DIALux ซึ่งสามารถใช้คำนวนได้ทั้งพลังงานของแสง ค่าแสงตกกระทบในแต่ละพื้นผิว ทำเป็นภาพจำลองสามมิติได้

เริ่มเนื้อหาจากการบรรยายเกี่ยวกับแสงและมาตรฐานโคมไฟ การคำนวนและจัดวางตำแหน่งจุดกำเนิดแสงเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ก่อนแจกคู่มือและแนะนำโปรแกรมที่ใช้เรียนทั้งในเวอร์ชั่นก่อนหน้ามาจนถึงเวอร์ชั่นปัจจุบัน อธิบายหน้าตาของและเครื่องมือของโปรแกรม

ก่อนแบ่งเนื้อหาออกแบบออกเป็น

  1. การใช้โปรแกรมออกแบบแสงพื้นที่ภายใน(Indoor)

การออกแบบพื้นที่ภายในที่พักอาศัย คำนึงถึงการใช้งานและความสวยงามภายในพื้นที่ โจทย์ที่ใช้ในการเรียนจะเป็นพื้นที่ภายในอาคารหนึ่งชั้น ได้แก่ การออกแบบแสงภายใน ห้องนั่งเล่น ห้องนอน ห้องทำงาน เป็นต้น

  1. การใช้โปรแกรมออกแบบแสงพื้นที่ภายนอก(Outdoor)

การออกแบบพื้นที่ภายนอกที่พักอาศัย คำนึงถึงทั้งความปลอดภัยและบรรยากาศภายนอก ยกตัวอย่างเนื้อหาที่ใช้ในการเรียน เช่น การออกแบบภายนอกอาคาร ไฟสนาม ไฟสปอตไลท์ ไฟส่องป้าย ไฟถนน

  1. การใช้โปรแกรมออกแบบแสง DIALux สู่การทำงานจริง(Workshop)

การได้ออกแบบและนำเสนอขั้นตอนสุดท้าย ทำออกมาร่วมกันในชั้นเรียน(Presentation)

เมื่อเรียนจบแล้ว ผู้เรียนสามารถใช้โปรแกรม DIALux ได้อย่างเชี่ยวชาญ ออกแบบและนำเสนออธิบายงานออกแบบแสงของตัวเอง(Presentation) เพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดอาชีพของตนได้ ไม่ว่าจะอาชีพใด นักออกแบบ กราฟฟิค สถาปนิก วิศวกร หรือเจ้าของ ผู้ออกแบบเอง