Architectural Design

งานออกแบบสถาปัตยกรรม

Duration : 72 hrs.

กระบวนการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการออกแบบอย่างสถาปนิกมืออาชีพ เมื่อจบเนื้อหาแล้วสิ่งที่ผู้เรียนจะได้คือแบบสถาปัตยกรรมที่พักอาศัยที่ผู้เรียนได้ลงมือออกแบบเองจาก 0 จนถึงสามารถเขียนแบบเบื้องต้น(Architectural Drawing) วาดทัศนียภาพ(Perspective) และทำแบบจำลองสามมิติ(Model)งานสถาปัตยกรรมของตนเองได้ สามารถนำแบบนั้นไปพัฒนาต่อ พูดคุย ว่าจ้างกับผู้รับเหมา หรือผู้เกี่ยวข้องในการก่อสร้างที่พักอาศัยได้ สามารถนำแนวความคิดการก่อสร้างที่พักอาศัยมาแลกเปลี่ยน ขอคำแนะนำจากผู้สอนได้อย่างใกล้ชิด

Part 1 : Fundamental of Architecture

Duration : 18 hrs.

เนื้อหาการเรียนการสอนเพื่อปูเนื้อหาเข้าสู่โลกของสถาปนิกและสถาปัตยกรรม ตั้งแต่หน้าที่ของสถาปนิก วิธีการทำงาน ไปจนถึงการเขียนแบบเบื้องต้น โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ส่วนบรรยาย และส่วนปฏิบัติ ได้แก่

Introduction to Architecture การบรรยายว่าด้วยเรื่องของสถาปนิกและสถาปัตยกรรม เป็นเนื้อหาที่เล่าถึงรายละเอียดว่าสถาปนิกทำอะไรบ้าง ขอบเขตการทำงานของสถาปนิกในชีวิตการทำงานจริง มาตรฐานการทำงานของสถาปนิกตามสภาสถาปนิก

Architectural Sketch and Perspective สำหรับวิชาชีพสถาปนิกแล้วนั้น ส่วนสำคัญคือความสามารถในการนำเสนอแนวความคิดออกมาเป็นรูปภาพได้ ไม่ว่าจะในแบบสองมิติซึ่งหมายถึงการเขียนแบบสถาปัตยกรรม(Architectural Drawing) หรือในแบบสามมิติ(Architectural Perspective)

ผู้สอนจะเริ่มสอนตั้งแต่ 0 สำหรับผู้ไม่มีพื้นฐานมาก่อน อธิบายอุปกรณ์ที่ใช้ ไปจนถึงหลักการเทคนิควิธีการวาด(Sketch)ให้ออกมาสื่อสารได้

Part 1 : Residential Architecture Design

Duration : 36 hrs.

กระบวนการออกแบบสถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัย โดยผู้เรียนจะได้เรียนวิธีการออกแบบเสมือนเป็นสถาปนิกมืออาชีพตั้งแต่ 0 ไปจนถึงสามารถออกแบบ สื่อสารกับผู้เกี่ยวข้องของโครงการ สามารถร่วมพัฒนางานออกแบบสถาปัตยกรรมให้ออกมาน่าอยู่ ถูกต้อง สวยงาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกแบบที่อยู่อาศัย โดยวิธีการและหัวข้อที่จะได้เรียนนั้น มีดังนี้

  1. การกำหนดโครงการ (Architectural Programming)

ขั้นตอนแรกของการออกแบบสถาปัตยกรรมคือการรวบรวมข้อมูล นำมาเขียนและวิเคราะห์ข้อกำหนดของโครงการ เพื่อให้สามารถมองเห็นโครงการในภาพรวมและกำหนดทิศทางการออกแบบโครงการนั้นๆได้ โดยเนื้อหาการเรียนการสอนในห้องเรียน จะมีทั้งผู้สอนเป็นคนกำหนดโครงการ รวมถึงเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกโครงการที่สนใจ หรือนำโครงการที่ผู้เรียนมีมาใช้พัฒนาร่วมกันในห้องเรียนได้

การกำหนดโครงการ (Architectural Programming) การจัดทำข้อกำหนดโครงการ กำหนดความต้องการของโครงการ เป็นการรวบรวมเอาข้อมูลเบื้องต้นทั้งหมดของโครงการเพื่อนำมาออกแบบ นำมาเขียนเป็นข้อกำหนดโครงการ ซึ่งได้แก่

  • Site and Location ที่ตั้งโครงการ
  • Budgets งบประมาณเบื้องต้น
  • Timing ระยะเวลาในโครงการ
  • Codes and Regulation กฏหมายที่เกี่ยวข้อง
  • User requirement ความต้องการของผู้ใช้งาน
  • List of Space ห้องที่ต้องการและจำนวนรายละเอียดขนาดพื้นที่
  1. การวิเคราะห์ข้อกำหนดของโครงการ(Program Analysis)

นำข้อมูลเบื้องต้นที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยวิธีการของสถาปนิก(Design Methologies) ไม่ว่าจะเป็น

  • Site Analysis วิเคราะห์ที่ตั้ง ทิศทางลม ฟ้า แสงแดด สภาพอากาศ การเข้าถึง ที่มีผลต่อโครงการ
  • User Behaviour and Analysis การศึกษาพฤติกรรมผู้ใช้งาน เพื่อสามารถออกแบบสถาปัตยกรรมที่ตอบสนองได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

นำข้อมูลวิเคราะห์ที่ได้มาเขียนเป็นผังอย่างง่าย(Design Methodologies Diagram) เพื่อนำไปสู่การออกแบบและวางผังต่อไป

  • Circulation Diagram ผังแสดงรูปแบบทางเดินการใช้สอย
  • Bubble Diagram ผังแสดงความสัมพันธ์ของขนาดการใช้งานพื้นที่
  • Zoning การจัดวางโซนนิ่งภายในที่พักอาศัย
  1. การออกแบบเบื้องต้น (Preliminary Design)

เข้าสู่การวางแนวความคิดในการออกแบบ(Concept Design) นำพื้นที่ต่างๆมาเข้าสู่การจัดวางลงในที่ตั้งให้เหมาะสม ผนวกแนวความคิด(Concept) แลกเปลี่ยนคววามคิดเห็นและพัฒนาในห้องเรียน(Brainstorm and critics) ทำออกมาเป็นทางเลือกการออกแบบ(Schematic Design) พัฒนาจนเข้าสู่การออกแบบระยะสุดท้าย(Design Development) ภายใต้คำแนะนำอย่างใกล้ชิดจากสถาปนิกผู้มีประสบการณ์

  1. พัฒนาการออกแบบสู่การเขียนแบบ (Design Development to Architectural Drawing)

เมื่อพัฒนาแบบร่วมกับกับผู้สอนเสร็จแล้วผู้เรียนจะได้นำแนวความคิดการออกแบบดังกล่าว มาพัฒนาสู่การเขียนแบบจริง สัญลักษณ์ และแบบมาตรฐานการเขียนแบบ(Architectural Drawing) ตามมาตรฐานการประกอบอาชีพของสถาปนิก สามารถเขียนผังพื้น(Plan) รูปตัด(Section) รูปด้าน(Elevation) ของสถาปัตยกรรมที่ตัวเองออกแบบได้

  1. การวาดภาพจำลอง(Perspective Drawing)

เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายแนวความคิดที่ต้องการออกมาเป็นรูปภาพได้ สามารถวาดภาพทัศนียภาพของโครงการ(Perspective)ได้อย่างมืออาชีพ

  1. การพัฒนาแบบสามมิติ(Model)

เมื่อสามารถเข้าใจในงานสองมิติแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายคือการทำโมเดลเพื่อเป็นการจำลองวิธีการออกแบบที่ได้ออกแบบมาว

Part : 3 Architecture Studio

Duration : 18 hrs.

เป็นสตูดิโอออกแบบสถาปัตยซึ่งใช้วิธีการออกแบบทั้งหมด(Architecture Design Methologies)ที่ได้เรียนมาเพื่อเข้าสู่กระบวนการออกแบบด้วยตนเอง เมื่อจบเนื้อหาแล้วจะทำให้ผู้เรียนยิ่งเชี่ยวชาญงานออกแบบสถาปัตยกรรม สามารถพัฒนาและต่อเริ่มจากเขียนข้อกำหนดโครงการ (Architectural Programming) การวิเคราะห์ข้อกำหนดของโครงการ(Program Analysis) การออกแบบเบื้องต้น (Preliminary Design) การเขียนแบบ (Architectural Drawing) การวาดภาพจำลอง(Perspective Drawing) และการพัฒนาแบบสามมิติ(Model)อย่างสมบูรณ์ มีการพัฒนาแบบร่วมกันระหว่างผู้เรียนผู้สอน นำแบบที่ได้มานำเสนอ แลกเปลี่ยนความคิดกับในชั้นเรียน เสมือนนักออกแบบมืออาชีพทำงานจริง

Part 2 : Basic Structure System

งานออกแบบโครงสร้าง

Duration : 24 hrs.

เรียนรู้ในเรื่องระบบโครงสร้าง ประเภทของระบบโครงสร้าง เช่น ระบบเสา คาน ผนังและหลังคาภายในงานสถาปัตยกรรมบ้านพักอาศัยอย่างละเอียด การคำนวนและการรับน้ำหนักบรรทุกของโครงสร้างแต่ละประเภท การออกแบบและวางผังโครงสร้าง ผู้สอนจะได้ถ่ายทอดประสบการณ์ ปัญหา รวมถึงเทคนิคการใช้โครงสร้างในงานออกแบบ จุดประสงค์ของเนื้อหาคือเพื่อให้ผู้ออกแบบหรือเจ้าของโครงการรู้ถึงโครงสร้างภายในที่มีในงานออกแบบสถาปัตยกรรม สามารถระบุและเลือกใช้โครงสร้างได้ถูกต้องเหมาะสมกับงานสถาปัตยกรรมแต่ละประเภทได้อย่างถูกต้อง นำไปสู่การเขียน อ่าน และเข้าใจแบบโครงสร้าง

ในส่วนของเนื้อหาที่ต่อจากภาคการออกแบบสถาปัตยกรรม เมื่อผู้เรียนได้ออกแบบและวางผังสถาปัตยกรรมเรียบร้อยแล้ว การเรียนการสอนในเนื้อหาวิชาโครงสร้าง เริ่มจากการคำนวนฐานราก ต่อขึ้นเป็นระบบเสาและระบบคาน ระบบผนัง ฝ้าและโครงสร้างหลังคา

เมื่อจบหลักสูตรผู้เรียนสามารถเข้าใจระบบโครงสร้างเบื้องต้นได้ สามารถเลือกใช้ระบบโครงสร้างได้อย่างถูกต้องเหมาะสม คุ้มค่า ทั้งในเชิงงบประมาณและระยะเวลาการใช้งาน สามารถอ่านและเข้าใจแบบโครงสร้างได้ (Architecture and Structure Drawing) สามารถอธิบายสัญลักษณ์ประกอบแบบได้อย่างง่ายๆ ถึงแม้จะไม่ใช่ผู้ออกแบบเอง สามารถนำแบบโครงสร้างไปพูดคุยติดต่อกับผู้รับเหมา ช่าง และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆได้

Part 3 : Basic Construction

งานก่อสร้างเบื้องต้น

Duration : 24 hrs.

การก่อสร้างเบื้องต้น มีจุดประสงค์ที่สำคัญคือเมื่อจบเนื้อหาแล้ว ผู้ออกแบบหรือเจ้าของโครงการ สามารถมองภาพรวมการก่อสร้างทั้งหมดได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน คำนวนระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมได้อย่างเหมาะสมและคุ้มค่าที่สุด สามารถตรวจสอบ นักออกแบบ วิศวกร ผู้รับเหมา และผู้เกี่ยวข้องในการก่อสร้างโครงการ รวมทั้งสามารถระบุแบบงานก่อสร้างต่างๆลงไปในแบบสถาปัตยกรรมได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน ตามแบบมาตรฐานการก่อสร้าง

เนื้อหาการเรียนการสอนจะเริ่มต้นตั้งแต่การถอดแบบโครงสร้างและชิ้นส่วนพื้นฐาน ไล่จากดิน ที่ดินเปล่า การเจาะและทดสอบดิน เริ่มขึ้นสู่เสาและคาน การคำนวนโครงสร้างที่ต้องใช้ในงานก่อสร้าง เสา คาน หลังคา            เปลือกอาคาร รวมถึงยกตัวอย่างกรณีศึกษางานก่อสร้างเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้ง่าย สามารถนึกภาพตามสถาณการณ์งานก่อสร้างได้ โดยแต่ละหัวข้อที่กล่าวมานั้นจะเน้นไปที่ความสัมพันธ์ระหว่างงานก่อสร้าง วิศวกร ผู้รับเหมา และผู้เกี่ยวข้องในโครงการที่ควรรู้เพื่อประโยชน์สูงสุดในการก่อสร้างบ้านพักอาศัย เช่น การเช็คการคำนวนโครงสร้าง การทดสอบวัสดุที่เลือกใช้มา เทคนิคการเช็คคุณภาพวัสดุ ระยะเวลาที่เหมาะสมการก่อสร้างและปฎิบัติงานเบื้องต้นของงานในแต่ละส่วน เอกสารสัญญาต่างๆที่มีในงานก่อสร้าง